Home

Article

11-2011การออกแบบสำหรับพื้นที่ภายในอาคาร

สำหรับประชาชนทั่วไปการจัดสภาพแวดล้อมและที่พักอาศัยให้เหมาะสมกับการพักอาศัย ของผู้สูงอายุ ใช้เป็นแนวทางในการ ตรวจสอบหรือดัดแปลงที่พักอาศัยได้ดังนี้

การออกแบบสำหรับพื้นที่ภายในอาคาร การออกแบบพื้นที่ภายในอาคารสำหรับผู้สูงอายุมีข้อที่ควรคำนึงและยึดถือเป็นเกณฑ์ในการออกแบบ 6 ประการ คือ

  1. ขนาดเล็กและกะทัดรัดเพื่อความสะดวกและประหยัด
  2. การก่อสร้างแบบป้องกันไฟ
  3. ลดปัญหาและความยุ่งยากต่างๆ ของผู้ดูแลสถานที่ และผู้ประกอบกิจกรรมประจำวัน
  4. ความน่าอยู่และความพอใจ และพื้นที่อันกว้างใหญ่
  5. ระดับความเป็นส่วนตัวสูง
  6. หลีกเลี่ยงภาพลักษณ์ที่เป็นทางการ


จากเกณฑ์ในการออกแบบดังกล่าวการออกแบบภายในอาคารสำหรับผู้สูงอายุ จึงแบ่งตามพื้นที่ใช้สอยได้ดังนี้

1. ห้องนอน

ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะใช้พื้นที่ภายในห้องนอนมากกว่าคนในวัยอื่นๆ (ยกเว้น ทารก) ฉะนั้นพื้นที่ใช้สอยภายในห้องนอนที่กว้างเพียงพอ จึงจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับผู้สูงอายุ เนื่องจากในช่วงเวลาที่เหลืออยู่อาจมีการเจ็บป่วยได้บ่อยครั้ง กว่าตอนที่ยังมีอายุน้อย การจัดพื้นที่ภายในห้องนอนของผู้สูงอายุนอกจากจะ มีพื้นที่สำหรับวางเตียงนอน ไม่ว่าจะเป็นแบบเตียงคู่ (double bed) หรือ เตียงแฝด (twin bed) แล้ว ยังต้องมีพื้นที่สำหรับการแต่งตัวและอาจรวมถึง พื้นที่เพื่อการพักผ่อนทำกิจกรรมส่วนตัว เช่น การอ่านหนังสือ การถักไหม พรม ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ ฯลฯ การออกแบบภายในห้องนอนควรคำนึงถึง เกณฑ์พื้นที่มาตรฐานเพื่อการออกแบบดังต่อไปนี้

  1. ขนาดเล็กและกะทัดรัดเพื่อความสะดวกและประหยัด
  2. การก่อสร้างแบบป้องกันไฟ
  3. ลดปัญหาและความยุ่งยากต่างๆ ของผู้ดูแลสถานที่
    และผู้ประกอบกิจกรรมประจำวัน
  4. ความน่าอยู่และความพอใจ และพื้นที่อันกว้างใหญ่
  5. ระดับความเป็นส่วนตัวสูง
  6. หลีกเลี่ยงภาพลักษณ์ที่เป็นทางการ


2. ห้องนั่งเล่น

คือห้องที่มีกิจกรรมที่หลากหลายในพื้นที่เดียวกัน เช่น การพูดคุยสนทนา กิจกรรมเพื่อความบันเทิง การอ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ ฟังเพลงหรือวิทยุ นั่ง เล่นและอื่นๆ ดังนั้นการจัดพื้นที่จึงต้องเตรียมไว้สำหรับกิจกรรมหลายอย่าง ที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งจะต้องคำนึงถึงการเชื่อมต่อกับพื้นที่ส่วนอื่นๆ ของบ้าน อย่างเช่น ห้องอาหารและห้องนอน อีกด้วย ผู้สูงอายุมักจะใช้เวลาในห้องนั่งเล่นต่อวันหลายชั่วโมง ดังนั้นการมองเห็น ภายนอกอาคารก็เป็นความจำเป็นอย่างหนึ่ง แต่ต้องไม่ให้เสียความเป็นส่วนตัว ภายในบ้านด้วย การจัดพื้นที่ภายในของห้องนั่งเล่นขึ้นอยู่กับรูปแบบการดำเนิน ชีวิต (life style) ของผู้อยู่อาศัย การจัดเครื่องเรือนควรเป็นไปตามกิจกรรม ของผู้อยู่อาศัย แต่ควรมีเกณฑ์ซึ่งเป็นขนาดต่ำสุดในการจัดพื้นที่ดังนี้

  1. ระยะห่างอย่างน้อย 60 นิ้ว (152.4 cm.) สำหรับเก้าอี้ที่หันหน้าเข้าหากัน
  2. ระยะห่างอย่างน้อย 30 นิ้ว (76.2 cm.) สำหรับการใช้โต๊ะ
  3. ระยะห่างอย่างน้อย 60 นิ้ว (152.4 cm.) สำหรับการวางโทรทัศน์ ซึ่งต้อง อยู่ตรงกับพื้นที่นั่งหลักของห้อง
  4. การสนทนาเป็นกลุ่ม วงสนทนาควรมีขนาดกว้าง 10 ฟุต (304.8 cm.)
  5. ระยะห่างอย่างน้อย 36 นิ้ว (91.44 cm.) สำหรับการสัญจรหลักภายในห้องห้องและเผื่อสำหรับรถเข็นสำหรับผู้พิการ หรือผู้ทุพพลภาพ (wheelchair) อีกด้วย
  6. ระยะห่างอย่างน้อย 30 นิ้ว (76.2 cm.) สำหรับการเคลื่อนไหวระหว่าง เฟอร์นิเจอร์


3. ห้องรับประทานอาหาร

มักจะเป็นพื้นที่ที่มีการเชื่อมต่อกับส่วนเตรียมอาหารและปรุงอาหาร รวมทั้งการชำระล้างภาชนะต่างๆ ห้องรับประทานอาหารนอกจากจะมีกิจกรรม หลักคือการรับประทานอาหารแล้ว อาจมีกิจกรรมอื่นๆ เช่น การเตรียมอาหาร หรือกิจกรรมอย่างที่เกิดในห้องนั่งเล่น เนื่องจากเป็นพื้นที่เชื่อมต่อกัน พื้นที่ที่ จำเป็นสำหรับขนาดตามเกณฑ์ที่แนะนำในการออกแบบจากต่างประเทศ ที่ใช้โดยทั่วไปมีดังนี้


  1. ความกว้างสำหรับผู้นั่งรับประทานอาหาร 1 คน คือ 24 นิ้ว (60.96 cm.)
  2. ระยะห่างจากขอบโต๊ะอาหารเพื่อการวางเก้าอี้นั่ง 1 ที่ ที่สามารถเข้าออก ได้ 36 นิ้ว (91.44 cm.)
  3. ระยะห่างจากขอบโต๊ะอาหารเพื่อการวางเก้าอี้นั่งและสามารถเดินผ่านด้าน หลังได้ 42 นิ้ว (106.69 cm.) เพื่อเสิร์ฟอาหาร
  4. ระยะห่างจากขอบโต๊ะอาหารเพื่อการวางเก้าอี้นั่ง
    และสามารถเดินผ่านด้านหลังได้ 30 นิ้ว (76.20 cm.) สำหรับเดินผ่านไปมาได้
  5. ระยะห่างจากขอบโต๊ะถึงตู้ที่มีลิ้นชัก 48 นิ้ว (121.92 cm.)
  6. ความสูงของเพดานห้องรับประทานอาหาร อาจมีการปรับแต่งให้สูงต่ำตามความเหมาะสมและความชอบของผู้อยู่อาศัย
    แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 7 ฟุต 6 นิ้ว (228.60 cm.)


4. ห้องครัว

คือห้องที่ใช้ประกอบอาหารประจำวันของผู้อยู่อาศัย ส่วนใหญ่จะจัดอยู่ใน ส่วนหลังบ้านและควรมีตำแหน่งติดผนังภายนอกอาคาร นอกจากจะใช้เตรียม อาหารแล้ว ห้องครัวยังมีหน้าที่ในการเก็บอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับ การประกอบอาหารอื่นๆ และยังเป็นที่ชำระล้างภาชนะที่ใช้หลังการรับประทาน อาหารอีกด้วย ในต่างประเทศครัวส่วนใหญ่จะมีแผนผังเป็นรูปตัว L หรือ U และการจัดครัวแบบ corridor type คือการจัดแบบเป็นแถวเรียงกันไป ซึ่งไม่ สะดวกสำหรับผู้สูงอายุที่จะต้องกลับไปกลับมาจากมุมหนึ่ง ไปยังอีกมุมหนึ่ง การจัดห้องครัวเพื่อสะดวกแก่การใช้งานของผู้สูงอายุ ควรมีระยะห่างในการ ออกแบบดังแสดงในภาพ (7-8)


5. ห้องน้ำ

เป็นพื้นที่ที่จะต้องให้ความสนใจด้านการออกแบบเพื่อความปลอดภัยเป็น อย่างมาก เริ่มจาก

โถส้วม จะต้องมีความสูง 17 นิ้ว (43.18 cm.) ส่วนผู้ที่ใช้รถเข็นสำหรับผู้พิการหรือทุพพลผู้พิการหรือทุพพลภาพ (wheelchair) โถส้วมต้องมีความสูง 20 นิ้ว (50.80 cm.) ซึ่งอาจใช้แบบติดข้างผนัง เพื่อสะดวกในการทำความสะอาดพื้นได้

ที่อาบน้ำ อาจใช้แบบฝักบัวจะสะดวกและปลอดภัยกว่าแบบอ่างอาบน้ำ หรือ อาจจะจัดไว้ทั้งสองแบบแต่จะเป็นการสิ้นเปลือง อ่างอาบน้ำจะต้องมีท้องอ่าง เรียบมีผิวพื้นที่ไม่ลื่น ความสูงของขอบไม่เกิน 15 นิ้ว (38.10 cm.) และยาวไม่ต่ำกว่า 60 นิ้ว (152.40 cm.) ถ้าเป็นแบบฝักบัวจะต้องมีพื้นที่ยืนหรือนั่ง เพื่อถูสบู่อยู่นอกบริเวณที่ฝักบัวกำลังสาดอยู่ ฝักบัวอาจเป็นแบบที่ติดกับผนัง โดยสามารถปรับระดับการใช้สูงต่ำได้ หรือถอดออกมาถือได้ ทั้งนี้จะต้องติดตั้งไว้ที่ความสูงไม่เกิน 60 นิ้ว (152.40 cm.) ถาดวางสบู่และราวจับ จะต้องติดตั้งไว้สูงจากพื้น 51 นิ้ว (129.54 cm.)

เครื่องทำน้ำอุ่น จะต้องติดตั้งในที่ที่สามารถปรับอุณหภูมิได้จากนอกบริเวณ อาบน้ำและน้ำอุ่นต้องมีอุณหภูมิไม่เกิน 120 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 48.8 องศาเซลเซียส ราวจับ ควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว (2.54 cm.) และรับน้ำหนัก หรือแรงดึงได้ 300 ปอนด์ (136 kg.) มีการติดตั้งอย่างแน่นหนากับวัสดุที่เป็นโครงสร้าง ไม่ใช่ติดตั้งกับวัสดุตกแต่งภายนอก ราวจับควรมีบริเวณโถส้วม 1 ที่ หรือมากกว่า นั้นตามความเหมาะสม

กระจกส่องหน้า ติดตั้งอยู่หน้าอ่างล้างหน้า และอาจมีตู้เพื่อใส่ผ้าขนหนูและยา ที่จำเป็นอยู่ในบริเวณที่เอื้อมหยิบถึงได้โดยสะดวก การติดตั้งปลั๊กไฟต้องอยู่สูงจากอ่างล้างหน้า 6 นิ้ว (15.24 cm.) ในตำแหน่งที่ใช้งานได้สะดวก



Back
Smart Series บ้านสำหรับการเริ่มต้นครอบครัวใหม่ Prestige Series บ้านที่ตอบสนองความต้องการในการใช้ชีวิตที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนใคร Residence Series บ้านที่สร้างสรรค์ความสุขให้ครอบครัวอย่างสมบูรณ์แบบตอบสนองชีวิตที่เหนือระดับ NewDesign Series ตรงใจทุกรายละเอียด ลงตัวทุกความต้องการ เลือกดีไซน์ได้ในแบบคุณ

Makerhome Contact Center 02 556 0888