04-2015 การออกแบบสภาพแวดล้อมและที่พักอาศัยให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุุ
พฤฒพลัง ก็คือ พลังผู้เฒ่าผู้ชรา หรือผู้เฒ่าผู้ชราที่ยังมีพลังอยู่ มาจาก คำว่า แอคทีฟ เอจจิ้ง (Active Aging) บัญญัติขึ้นโดยองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ในปี 1990 หมายถึง การเป็นผู้สูง อายุที่ปราศจากโรค และรวมถึงการมีความสามารถในการใช้ร่างกาย สรีระ วิทยา จิตใจ และสังคม ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงไปตามกระบวนการชราที่เกิดขึ้น ให้ทำงานได้อย่างเหมาะสม มีความสามารถทำอะไรๆ ได้ตามสิทธิ์ที่มีอยู่ มีชีวิตที่มีอิสระ มีชีวิตที่มีส่วนร่วม และทำได้สำเร็จด้วยตัวเอง (Self Fulfill- ment) แล้วพฤฒพลังในสังคมไทยยุคปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้าง
ผู้สูงอายุที่มีพลังแอคทีฟ เอจจิ้ง นอกจากจะหมายถึง การไม่โอเวอร์ แอคทีฟ (Over Active) และไม่อันเดอร์ แอคทีฟ (Under Active) คือมีพลัง แบบพอเหมาะพอสมแล้ว ผู้สูงอายุยังต้องมีความเข้าใจในชีวิต เข้าใจในข้อ จำกัด และข้อไม่จำกัดของตน นั่นคือการใช้ชีวิตที่อิสระภายใต้ข้อจำกัดที่มี นั่นเอง ซึ่งคือการมีชีวิตที่อิสระ (Independence) ที่ประกอบด้วยการมี ส่วนร่วม (Participation) การมีศักดิ์ศรี (Dignity) ขณะเดียวกันก็ได้รับ การดูแล (Care) ที่เหมาะสม
สังคมผู้สูงอายุคือกระแสโลก ผู้สูงอายุกระแสใหม่คือผู้สูงอายุที่สามารถ ดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ มีสุขภาพดี มีส่วนร่วมในสังคม และมีความ มั่นคงทางปัจจัย 4 จะเป็นอย่างนั้นได้ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจของทั้งผู้สูง อายุและผู้ดูแลลูกหลาน รวมทั้งการเตรียมความพร้อมในระดับนโยบายจาก ภาครัฐ สำหรับผู้สูงอายุในกรุงเทพฯ ถูกมองว่าน่าจะได้รับการจัดสรรประโยชน์ จากภาครัฐมากกว่าผู้สูงอายุในต่างจังหวัด แต่ความเป็นจริงผู้สูงอายุกลุ่ม ที่มีรายได้น้อยและโยกย้ายมาจากชนบทเมื่อมาอยู่ในชุมชนเมือง กลับมีปัญหา และความขาดแคลน เพราะจะถูกใช้แรงงานอย่างน่าเศร้า เช่น ใช้ให้เฝ้าบ้าน ใช้ให้เลี้ยงหลาน หรือในกรณีที่เป็นร้านค้าก็ถูกใช้ให้นั่งเก็บเงิน วันทั้ง วันไม่ได้ทำกิจกรรมอะไรที่ตัวเองชอบเลย
ถ้าเราไม่สนใจคนกลุ่มนี้จะเหี่ยวแห้ง เหี่ยวเฉา และหมดอาลัยตายอยาก เพราะได้แต่ปัจจัย 4 คืออาหารที่อยู่อาศัย แต่ในด้านจิตใจขาดแคลนทดท้อ กลายเป็นปัญหาคนแก่ซึมเศร้า คนแก่ฆ่าตัวตาย มีปัญหาทางจิต ลูกหลาน ไม่มีใครมองเห็น ในที่สุดก็ตายลงด้วยอายุ ถ้าเป็นเช่นนี้แล้วจะสูงอายุไปทำไม ถ้าชีวิตที่เหลืออยู่เปล่าไร้ซึ่งคุณค่าและความเป็นมนุษย์ นี่เป็นปัญหาที่ท้าทาย มากว่าเราจะทำอย่างไร สังคมไทยจะรับมือกับเรื่องนี้อย่างไร
ผู้สูงอายุในไทยปัจจุบันมีจำนวน 20 กว่าล้านคน การบริหารจัดการที่ จะให้ทั้ง 20 กว่าล้านคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี Active Healthy Aging ต้อง อาศัยการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการสื่อสารด้านสุข ศึกษาซึ่งไทยยังขาดมาก ควรสนับสนุนให้ผู้สูงอายุใช้ช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์ก เพราะนอกจากจะได้ความสนุกสนาน ความรู้สาระที่เป็นประโยชน์ในการดู แลสุขภาพแล้ว ก็ยังได้สังคม ได้กลุ่มก้อน ได้พลังจากการทำกิจกรรมที่ผู้สูง อายุสนใจ สร้างชีวิตชีวาในการใช้ชีวิตประจำวัน และสร้างช่องทางในการ ติดต่อกับโลกยุคใหม่
โดยสรุป 3 สิ่งที่ผู้สูงอายุต้องมีคือ 1. ผู้สูงอายุต้องมีสังคม 2. ผู้สูงอายุ ต้องมีกิจกรรม และ 3. ผู้สูงอายุต้องมีงานทำ แต่ละคนก็เลือกสังคม เลือก กิจกรรมที่ตัวเองชอบหรือสนใจ เลือกงานที่ตัวเองต้องการทำ แน่นอนที่ไม่ ใช่งานประจำแต่เป็นงานที่ยังต้องทำอยู่ เป็นงานที่ทำให้รู้สึกว่าตัวเองมีคุณ ค่า ขณะเดียวกันก็เป็นประสบการณ์ที่มีประโยชน์ต่อผู้อื่น
มุมมองเกี่ยวกับผู้สูงอายุในสังคมอาจมีความแตกต่างกันไป บางคนอาจ ใช้เกณฑ์อายุที่บอกว่า 60 ปีขึ้นไป ขณะที่บางคนอาจพิจารณาจากการ เปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกายและจิตใจตามที่ปรากฏให้เห็น หรือความ สามารถในการปฏิบัติงานหรือกิจกรรมต่างๆ ขณะที่บางรายก็มีความคิดอ่าน ที่ยังใช้การได้แม้วัยจะล่วงเลยไปมากแล้ว องค์การอนามัยโลกได้แบ่งระดับ การสูงอายุไว้ 3 ระดับ คือ ผู้สูงอายุ (elderly) มีอายุระหว่าง 60-74 ปี คน
Active Aging ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยแบบพฤฒพลัง
ชรา (old) อายุระหว่าง 75-89 ปี และคนชรามาก (very old) คือมีอายุ 90 ปีขึ้นไป
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะแบ่งระดับของผู้สูงอายุเป็นแบบไหน หากแต่สิ่งที่ สำคัญยิ่งกว่าคือ การรักษาหรือคงลักษณะให้อยู่ในภาวะที่เรียกได้ว่าสูงวัย อย่างมีคุณภาพ (Active Aging) แทนที่จะเป็นภาวะสูงวัยที่บอบบาง (Frail Aging) ซึ่งการดำรงชีวิตเพื่อให้ถึงเป้าหมายของภาวะหรือคุณภาพชีวิตของ ผู้สูงอายุได้แก่ 1. สุขภาพดี คือการดูแลสุขภาวะให้สมดุล เชื่อมเป็นองค์รวม ทั้งกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ ตามที่รู้จักกันว่า สุขภาพดี สมวัย
2. อยู่กับลูกหลาน หรือใช้ชีวิตอยู่ในครอบครัวรวมถึงในสังคม และชุมชน ที่ตนอาศัยอยู่โดยการมีส่วนร่วมในสังคมนั่นเอง เช่น การแสดงความคิด เห็น การตัดสินใจ การช่วยเหลือ และการได้รับการยอมรับ 3. มีความสุข หรือความมั่นคง โดยการมีสุขภาพดี มีรายได้เพียงพอ มีความปลอดภัยใน ชีวิตและทรัพย์สิน มีสิทธิเสรีภาพ และมีทรัพยากรเพียงพอในการผลิต รวม ถึงมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับการใช้ชีวิต ในทางตรงข้ามหากไม่สามารถ ปรับตัวได้ เราก็อาจต้องอยู่ในภาวการณ์สูงวัยที่บอบบาง อันหมายถึง หง่อม งอม บอบบาง อันอาจเกิดจากการเสื่อมตามวัยด้วยโรคทางกาย และบาง รายอาจมีอาการเสี่ยงด้วยโรคทางจิตใจ
หากภาวะเหล่านี้เกิดขึ้นก็จะทำให้เป็นปัญหากับครอบครัวได้ ดังนั้นผู้สูง อายุจึงไม่ควรมองข้าม โดยพยายามดูแลใส่ใจตนเองเพื่อให้สามารถดำรงตน ให้อยู่ในภาวะเป็นผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพ
สิ่งอำนวยความสะดวกภายในบ้านเพื่อผู้สูงอายุ
คุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยาย ท่านต้องการบ้านแบบไหนกัน? แนวคิดที่ควร คำนึงถึงในการนำไปใช้งานภายในบ้านเพื่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ มีดังนี้
1. เปลี่ยนกระเบื้องเป็นแบบกันลื่น
ปัญหาคือการลื่นล้มในห้องน้ำ ห้องครัว ปรับเปลี่ยนพื้นกระเบื้อง เป็นแบบ ผิวหยาบ ผิวด้าน ช่วยป้องกันลื่นได้
2. สัญญาณขอความช่วยเหลือ
สัญญาณขอความช่วยเหลือหรือระบบความปลอดภัยภายในบ้านยุคดิจิทัล ไม่เพียงแต่จะแจ้งเตือนการบุกรุกของผู้ไม่ประสงค์ดี แต่ยังสามารถปรับใช้ส่ง สัญญาณฉุกเฉินขอความช่วยเหลือจากผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในห้องภายใน บ้านได้อีกด้วย
3. เพิ่มแสงสว่าง
ผู้สูงอายุจำเป็นต้องได้รับการทดแทนเพิ่มแสงสว่างภายในบ้านอีกเท่าตัว เพราะผู้สูงอายุปรับสายตาในที่สว่างและมืดได้ช้ากว่าคนหนุ่มสาว โดยเฉพาะ แสงสว่างระหว่างสองห้องที่ไม่เท่ากัน ติดหลอดไฟระหว่างทางเดินเพิ่มช่วยได้
4. ปรับเปลี่ยนและขยายประตูทางเข้า
ผู้สูงอายุที่ต้องใช้รถเข็น ควรเปลี่ยนประตูทางเข้าให้เป็นแบบบานเลื่อน และ ขยายความกว้างเป็นอย่างน้อย 90 ซม. ทำทางลาดเล็กๆ สำหรับรถเข็นที่ ธรณีประตูจะช่วยให้ใช้รถเข็นได้สะดวกขึ้น
5. ติดตั้งราวจับ
ผนังบ้านตลอดทางเดินและในห้องน้ำ ราวจับจะช่วยให้ผู้สูงอายุเกาะเดินไป ยังห้องต่างๆ ได้สะดวกมากขึ้น ทั้งยังลดความรุนแรงหากลื่นล้มหรือกล้ามเนื้อ อ่อนแรงแบบกะทันหัน ดูเรื่องการติดตั้งยึดเกาะให้แข็งแรง และอยู่ในระดับ ความสูงที่เหมาะสม
6. ใช้แก็ดเจ็ตติดตามตัวให้เป็นประโยชน์
แก็ดเจ็ตที่น่าสนใจ เช่น คิดซ์ออน (KizON) ของแอลจี สามารถปรับใช้กับ ผู้สูงอายุเวลาอยู่บ้านคนเดียว หรือผู้ป่วยอัลไซเมอร์ โดยเครื่องจะรายงาน ตำแหน่งผ่านพิกัดดาวเทียมให้เช็กได้ว่าตอนนี้ท่านอยู่ที่ไหน หากโทรไปไม่รับ สายเกินจำนวนครั้งที่กำหนด เครื่องจะรับสายอัตโนมัติเพื่อฟังเสียงโดยรอบ ว่าน่าจะอยู่ที่ไหน พร้อมส่งพิกัดล่าสุดให้ทราบ รวมทั้งผู้สูงอายุที่สามารถโทร หาลูกหลานได้ เพียงกดปุ่มบนเครื่องแค่ปุ่มเดียว
อ้างอิง : http://www.hsri.or.th